งด "อาหารเช้า" ส่งผลดี-ผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

 งด "อาหารเช้า" ส่งผลดี-ผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

ซื้อหวยออนไลน์ เว็บไหนดี มาที่นี้เลย เว็บหวยออนไลน์จ่ายจริง.com 900/95

อาหารเช้า บ้างก็ว่าเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุดของวัน บ้างก็ว่าสามารถข้ามมื้อเช้าได้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดและไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อร่างกาย และอาจจะดีต่อร่างกายด้วยซ้ำ

อาหารเช้า สำคัญต่อร่างกายหรือไม่

สำหรับภาษาอังกฤษ คำว่า อาหารเช้า หรือ breakfast หมายถึง “to break the fast” ซึ่งหมายถึงการหยุดการอดมื้ออาหาร หลังจากที่เรางดมื้ออาหารมาตั้งแต่หลังมื้อเย็นของเมื่อวาน ยาวไปจนถึงช่วงที่นอนตอนกลางคืนอีกเกือบ 10 ชั่วโมง นั่นหมายถึงเราไม่มีอาหารตกถึงท้องราวๆ 12-14 ชั่วโมง ดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจที่หลายคนอาจจะรู้สึกหิวทันทีที่ตื่นนอนและต้องการที่จะกินอาหารเช้า

อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันว่า อาหารเช้า เป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่เราควรกินทุกวันหรือไม่ นักวิจัยหลายคนก็ยืนยันว่า การงดอาหารเช้าไม่ได้ส่งผลเสียใดๆ ต่อร่างกาย แต่นักวิจัยบางคนก็กล่าวในทางตรงกันข้าม

สำหรับคนที่กินข้าวครบสามมื้อ อาจมีความเป็นไปได้ว่าสามารถรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันในทุกช่วงเวลาของชีวิตในวันนั้นๆ แต่บ้างก็เชื่อว่า ตราบใดที่เรากินอาหารที่ให้พลังงานมากเพียงพอต่อร่างกาย ก็ไม่จำเป็นต้องนับเป็นจำนวนมื้ออาหาร กล่าวคือ ต่อให้กินแค่สองมื้อหรือมื้อเดียว แต่หากกินอาหารในปริมาณที่ให้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย (ซึ่งร่างกายของแต่ละคนอาจต้องการพลังงานไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันด้วย) จำนวนมื้ออาหารก็ไม่สำคัญ รวมถึงการข้ามอาหารเช้าด้วย

ในเมื่อมีข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย เรามาดูข้อมูลที่สนับสนุนจากทั้งสองด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจกันดีกว่า

งด

ทำไมเราควร “กิน” อาหารเช้า

งานวิจัยในปี 2021 ระบุว่า คนที่กินอาหารเช้าทุกวัน มีความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ นี้ลดลง เช่น

  • โรคหัวใจ
  • เบาหวาน
  • โรคอ้วน
  • ความดันโลหิตสูง
  • หลอดเลือดสมอง
  • อ้วนลงพุง
  • โรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
  • ปริมาณ LDL หรือไขมันเลวลดลงฃ

แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่กินอาหารเช้าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

แต่จากการศึกษาของกลุ่มคนอเมริกาเหนือกว่า 30,000 คน ระบุว่า คนที่งดอาหารเช้าอาจขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น

  • โฟเลต
  • แคลเซียม
  • เหล็ก
  • วิตามินเอ
  • วิตามินบี 1 บี 2 บี 3
  • วิตามินซี
  • วิตามินดี

ทั้งนี้อาจหมายถึงการขาดอาหารเช้าที่ชาวอเมริกันนิยมรับประทานกัน เช่น นม ที่มีแคลเซียม เป็นต้น

นอกจากนี้ ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ระบุว่า การอดอาหารเช้า อาจเป็นภัยเงียบส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น

  • อัมพฤกษ์ อัมพาต ทั้งจากเส้นเลือดแตก และตันในสมอง
  • โรคเส้นเลือดและหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ความเครียด จากการทำงานผิดปกติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส และฮอร์โมน

รวมถึง พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ที่ระบุว่า การอดอาหารเช้าไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สดชื่น ขาดความกระตือรือร้น ความจำไม่ดี ฯลฯ ยังเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

“สมองไม่เหมือนกับร่ายกายในส่วนอื่นที่จะมีสต๊อกเลือดที่หล่อเลี้ยงตลอดเวลา แต่ขึ้นอยู่กับการส่งเลือดมาเลี้ยงโดยตรง ฉะนั้น สมองจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดที่มาเลี้ยงพอเพียง น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำจะมีผลต่อสมอง ทำให้อารมณ์ความคิดของเรา ในคนอายุมาก เวลาหิวมากๆ ไม่ใจสั่น แต่จะง่วง เพราะมันจะปิดสวิตช์เลย ฉะนั้นในคนสูงอายุถ้าน้ำตาลตกก็จะซึมกะทือ” 

  1. บล็อกอื่นที่หน้าสนใจ










โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“เหงือกบวม” อาการแบบไหน ควรพบแพทย์

ลดน้ำหนักอย่างได้ผล แค่เดินวันละ 1 ชั่วโมง

"หนังตากระตุก" สัญญาณเตือนโรคร้าย