"หนังตากระตุก" สัญญาณเตือนโรคร้าย
ซื้อหวยออนไลน์เว็บไหนดี มาที่นี้เลย เว็บหวยออนไลน์จ่ายจริง.com 900/95
ตากระตุก ขวาร้ายซ้ายดี อาจไม่ใช่แค่ลางบอกเหตุเรื่องโชค แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนเรื่องสุขภาพที่สำคัญ
ภาวะตาปิดเกร็ง หนังตากระตุก หลายคนมักคิดว่าเป็นลางบอกเหตุ อาจสร้างความรำคาญได้ แท้จริงแล้วเป็นสัญญาณบอกโรค หมั่นสังเกตอาการ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา
ภาวะตากระตุก ตาปิดเกร็ง
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า Blepharospasm หรือภาวะตาปิดเกร็ง เป็นส่วนหนึ่งของอาการ focal dystonia ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อดวงตา มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และช่วงอายุที่พบบ่อยคือ ช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี มักเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ตา
อาการตากระตุก ตาปิดเกร็ง
อาการเริ่มต้นของภาวะนี้ คือ
- มีกระพริบตาบ่อยครั้ง ผู้ป่วยมักให้ประวัติว่ารู้สึกเคืองตาแสบตา
- เริ่มมีอาการเกร็งหรือรู้สึกดึงรั้ง หรือแน่นรอบดวงตาโดยเกิดขึ้นทั้งด้านบนและด้านล่าง ทำให้มีความลำบากในการลืมตา
- ตาเริ่มหรี่แคบลงจนถึงตาเปิดไม่ได้ชั่วขณะ
- อาการจะเป็นๆ หายๆ โดยระยะเวลาที่เกิดเป็นวินาทีถึงหลายนาทีได้
- โดนแสงแดดหรือไฟสว่างจ้า
- เครียดวิตกกังวล มักกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
- ผู้ป่วยอาจมี sensory trick หรือการบรรเทาอาการจากการสัมผัสเบาๆ ที่บริเวณอื่น เช่น หางตาหรือแก้มแล้วทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาคลายตัว พบได้ในระยะแรกของโรค จากนั้นอาการจะค่อยๆ หายไป
การรักษาอาการตากระตุก ตาปิดเกร็ง
การรักษาด้วยการรับประทานยาไม่ค่อยได้ประสิทธิภาพ ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงจากยาลดอาการเกร็ง เช่น ง่วงนอน ปากคอแห้ง อาการสับสน เป็นต้น
ในปัจจุบันการรักษาจึงเน้นยา ที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่และไม่มีผลข้างเคียง การฉีดยาโบทูลินัมจึงเป็นการรักษาที่ใช้ในผู้ป่วยเพื่อลดอาการเกร็งรอบดวงตา ได้นาน 3-6 เดือนต่อการฉีด 1 ครั้ง ซึ่งมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยและหายได้เองเมื่อยาหมดฤทธิ์
อย่างไรก็ตามการฉีดโบทูลินัมไม่ได้ทำให้หายขาดจากโรคเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง หลีกเลี่ยงการขับรถหากยังคุมอาการได้ไม่ดีพอ และเฝ้าระวังอาการทางระบบประสาทอื่นๆ ด้วย