ประโยชน์ต้นตีนเป็ด หรือ ต้นพญาสัตบรรณ ที่ดีต่อสุขภาพ
ซื้อหวยออนไลน์ เว็บไหนดี มาที่นี้เลย เว็บหวยออนไลน์จ่ายจริง.com 900/95
หน้าหนาวมาทีไร แถวบ้านใครที่ปลูกต้นตีนเป็ด หรือ ต้นพญาสัตบรรณ เอาไว้คงได้กลิ่นจากดอกของต้นนี้อย่างชัดเจน บ้างก็ว่าหอมชื่นใจ บ้างก็ว่าเหม็นจนเวียนหัว แต่ไม่ว่าอย่างไรต้นตีนเป็ดก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ลมหนาว” ไปโดยปริยาย นอกจากต้นตีนเป็ดจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงากับเราได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยรักษาอาการต่างๆ ในฐานะของการเป็นสมุนไพรไทยได้อีกด้วย
พญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ หรือ ตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12–20 เมตร อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีถิ่นดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ลักษณะของต้นตีนเป็ด
ต้นตีนเป็ดมีเปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5–7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10–12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็ก ๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพของต้นตีนเป็ด
- เปลือกของลำต้นมีรสขม สามารถนำมาทำเป็นยาที่ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน และแก้หวัด แก้ไอ บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ
- เปลือกของลำต้น ช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ
- เปลือกของลำต้น ต้มน้ำอาบ ลดอาการผดผื่นคัน
- ยางจากลำต้น ใช้หยอดหูแก้อาการปวดหู และใช้อุดฟันเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
- ใบอ่อน นำมาต้มเพื่อดื่มรักษาโรคลักปิดลักเปิด
- ใบ และยาง ชาวอินเดียใช้รักษาแผล แผลเปื่อย แผลตุ่มหนอง และอาการปวดข้อ
ข้อควรระวังของต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ
จำให้ดีว่า ต้นตีนเป็ด (Alstonia scholaris) กับต้นตีนเป็ดน้ำ หรือต้นตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam) ไม่เหมือนกัน ต้นตีนเป็ดน้ำจะมีลำต้นเล็กกว่า และพบอยู่ริมน้ำ ริมคลอง หรือป่าชายเลน มีดอกสีขาวพร้อมกลิ่นอ่อนๆ ผลเป็นลูปกลมๆ หากลูกหลุดจากต้นแล้วแห้ง สามารถนำมารดน้ำปลูกเป็นต้นใหม่ได้
ต้นตีนเป็ดจะลำต้นสูงใหญ่กว่า ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ผลจะออกมาเป็นฝักยาว เส้นๆ กลมเรียว และที่สำคัญคือส่งกลิ่นได้เข้มข้นรุนแรงกว่า