“ซึมเศร้า” แค่ไหน ถึงควรพบจิตแพทย์
ซื้อหวยออนไลน์ เว็บไหนดี มาที่นี้เลย เว็บหวยออนไลน์จ่ายจริง.com 900/95
บางครั้งเราก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองซึมเศร้าแล้วจริงๆ หรือแค่เบื่อหน่ายชีวิต ถึงจุดไหน อาการไหน ที่บอกได้ว่าเราควรต้องพึ่งจิตแพทย์แล้ว มาดูคำแนะนำจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยกัน
แพทย์หญิงพาพร หรือ หมอมีฟ้า จากเฟซบุ๊กเพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า “ในยุคนี้ ที่เราแทบทุกคนมีญาติมิตรหรือคนรู้จักปรึกษาจิตแพทย์ ทำให้หลายๆ คนมีข้อสงสัยว่า ‘จะต้องมีอาการหนักแค่ไหนหรือถึงขั้นไหนจึงควรไปพบจิตแพทย์?’ หมอเคยถามคำถามนี้กับคนไข้ที่หายดีแล้วและกำลังจะยุติการรักษา
คนไข้คิดอยู่ไม่นาน ก็ตอบว่า ‘ก็ตอนที่มีความคิดนี้นั่นแหละค่ะ’
“จริงๆ แล้ว ไม่ต่างจากโรคทางกายอื่นๆ หากคนๆ หนึ่งรู้สึกว่ามี ‘ปัญหาที่จัดการเองไม่ได้’ นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะไปปรึกษาแพทย์ แล้วแพทย์จะประเมินและวินิจฉัยเองว่า ปัญหานั้นเกิดจากอะไร เป็นอาการหนึ่งของภาวะหรือโรคอะไรหรือไม่ ขอแค่พาตัวเองไปหาหมอก็พอ”
นอกจากนี้ ยังระบุถึง ปัญหาหลักๆ ที่มักพาให้คนมาพบจิตแพทย์ ได้แก่
- ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
- ความคิด
- ความจำ
- สมาธิ
- การกินการนอน
- อาการทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้
- พฤติกรรม การแสดงออก
- การใช้เวลา
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่ยุ่งยากชวนลำบากใจ ก็อาจเป็นเรื่องที่ปรึกษาได้เช่นกัน เช่น การเรียนการทำงาน ความสัมพันธ์ มีจุดเปลี่ยนในชีวิต เป็นต้น
หลายคนเข้าใจว่า เมื่อมีสถานการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น ตกงาน อกหัก คนรักเสียชีวิต เป็นต้น ก็น่าจะถือว่า การนอนไม่หลับ จิตตก ฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ ฯลฯ ที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องปกติ แต่
ความเข้าใจนี้ถูกต้องส่วนหนึ่ง อีกส่วนคือ หากอาการเหล่านั้ หนักหนาและอยู่ต่อเนื่องยาวนาน จนส่งผลต่อการใช้ชีวิต มีความเป็นไปได้สูงว่า คนๆ นั้นอาจอยู่ในภาวะเสียศูนย์ หรือมีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว
ดังนั้น การมีสาเหตุที่ “เข้าใจได้” ว่ากดดันทางจิตใจ ไม่ได้แปลว่า อาการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน ก็ถือว่าปกติ
เราจะบอกว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้น อยู่ในระดับที่เข้าข่ายเป็น “โรค” ควรได้รับการรักษา
ก็ต่อเมื่อ
- มีอาการเหล่านั้นอยู่นานกว่าที่ควร หรือนานกว่าที่คนส่วนใหญ่เป็น และที่เราเคยเป็น
- มีอาการหนัก จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ซึ่งหมอเรามักจะเรียกกันว่า “เสีย function”
Function ของคนปกติ มีอะไรบ้าง
ได้แก่ การเรียน การทำงาน การดูแลลูกหลาน เป็นต้น
อาการที่สังเกตได้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อย สมาธิไม่ดี ขี้ลืม ทำงานแย่ลงกว่าเก่า วัยเรียนจะเรียนไม่รู้เรื่อง เกรดตก วัยทำงานจะทำงานเสร็จช้าลง มีข้อผิดพลาดในการทำงาน จนถึงลางานบ่อยผิดปกติ
การดูแลความสัมพันธ์ให้ราบรื่น
อาการที่สังเกตได้ เช่น ไม่อยากออกไปไหน ไม่อยากพูดกับใคร (ส่วนหนึ่งเป็นการตั้งใจเลี่ยงเพราะรู้ตัวว่าพูดแล้วมักจะหงุดหงิดง่าย) มีเรื่องทะเลาะผิดใจกับคนใกล้ชิดบ่อยๆ ด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆ
ความเครียดในระดับปกติ (normal reaction to abnormal situation) จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อ 3 ด้าน ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากอาการรุนแรงมากกว่านั้น โดยเฉพาะเมื่อจัดได้ว่าเป็นโรค ก็มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน และโดยส่วนใหญ่ มักจะไม่ได้ถูกกระทบแค่ด้านเดียว
โรคซึมเศร้า จะทำให้ผู้ป่วยเบื่อหน่าย เนือย เหนื่อย ท้อแท้ หาความสุขในชีวิตได้ยาก อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร อยากอยู่เฉยๆ หลายคนเอาแต่นอน (จนดูเหมือนขี้เกียจ) บางคนก็ปวดนู่นปวดนี่ ไมเกรนกำเริบบ่อยๆ
ดังนั้น อาการระดับที่ควรพบแพทย์ คือ อาการที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพ หน้าที่ และ/หรือ ความสัมพันธ์ ของเราอย่างชัดเจน หรือสั้นๆ ก็คือ เมื่อเริ่ม “เสีย function” นั่นเอง
สรุป คือ ดูที่ ผลกระทบต่อคนๆ นั้น ไม่ใช่ที่ตัวเหตุการณ์
หากใครสังเกตตัวเองแล้วไม่แน่ใจว่า อาการของตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคหรือไม่ หมอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความชัดเจน เพราะหากอาการเป็นเพราะโรคจริงๆ การรักษาแต่เนิ่นๆ ก็จะง่ายกว่าการปล่อยทิ้งไว้ แล้วรักษาเมื่อโรคดำเนินไปรุนแรงแล้วมากๆ